วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Tablet



Tablet

               "แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"ในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

             แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)


             "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน

 
ภาพ HP Compaq tablet PC ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows


              แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet


            "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก
 


ภาพ Apple iPad

              ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC"

              เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel" ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง

              Post-PC operating systems

             ในปัจจุบันมีความนิยมในการใช้งาน Tablet สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้เกิดการแข่งขันและการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ tablet ขึ้นมาเฉพาะโดยไม่ได้ตามเทคโนโลยีของ PC หรือ PDA เหมือนในอดีต ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรมด้าน Hardware หรือ Software ต่างมีผู้ผลิต OS (Operating System) ของตนเองมาแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าย Windows เองก็พยายามจะรักษาตลาดเดิมของ PocketPC เอาไว้ นอกจากนี้ Apple ผู้ผลิต iPad ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน Tablat อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ก็มี iOS ที่พัฒนาสำหรับ Tablat โดยเฉพาะและมีจุดแข็งในการผลิตฮาร์ดแวร์เองทำให้ OS สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้คู่แข่งสำคัญอย่าง Google ก็มี Android OS ที่มีจุดแข็งในการเปิดให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อื่นๆ สามารถนำ Android OS ไปใช้ได้กับฮาร์ดแวร์ของตน นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ผลิตหลายราย ที่พยายามสร้าง OS ของตนขึ้นมาเพื่อใช้งานกับ Tablat ของตนเอง เช่น Blacberry Tablet OS ที่อิงระบบ QNX หรือ HP ที่พยายามสร้าง webOS เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด แต่ทำไม่สำเร็จอย่างไรก็ตาม Tablat ยังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในอนาคต Tablat จะเป็นมากกว่ากระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์ แต่จะบรรจุเทคโนโลยีมากมาย อีกทั้งความสามารถด้านการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ความสามารถของ Tablat เปิดกว้างมายิ่งขึ้น
ตัวอย่าง Tablet
การใช้เทคโนโลยี Tablet กับการศึกษาในอนาคต
 

             เนื่องจากกระเเสความนิยมใน Tablet PC หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เเบบกระดานชนวนยังคงมีอย่างต่อเนื่อง บริษัทต่างๆทยอยกันเปิดตัว Tablet PC ของตัวเองอย่างคึกคัก เหตุผลที่ Tablet PC กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้นั้นเพราะประโยคอันหลากหลายเเละรูปแบบที่ทันสมัย พกพาได้สะดวกสบาย จะใช้ต่ออินเตอร์เน็ตก็ได้ ถ่ายรูปก็ได้ เเละยังเป็นเเหล่งค้นคว้าข้อมูลข่าวสาร อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Book ก็ยังได้ อย่างไรก็ตามจากการสำรวจล่าสุดในต่างประเทศของ Admob กลับพบว่าผู้คนที่ยอมควักกระเป๋าเพื่อครอบครองเจ้าTablet PC นั้นกลับใช้ในการนำมาเล่นเกมส์มากที่สุด รองลงมาคือใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูล เช็คอีเมลล์ หรือข้อมูลข่าวสารเเละใช้งานพวก Facebook Twitter อันดับท้ายสุดคือใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

                                  
              เเต่ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของ Tablet PC คือการใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Bookสำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า E-Book จะอธิบายคร่าวๆให้ฟังว่า E-book PC ก็มีหน้าตาเหมือนกับหนังสือพิมพ์ที่เป็นเล่มๆบนกระดาน เเต่จะต้องอ่านผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอของ Tablet PC ซึ่งมีขนาดหน้าจอใหญ่พอๆกับหนังสือจริงๆ อีกทั้งยังสามารถอ่านได้ในที่มืดได้อีกด้วยใช้เเสงสว่างจากจอเข้ามาช่วย
            สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันเริ่มมีการใช้ Tablet PC ในการศึกษาเพิ่มมากขึ้น สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยบางเเห่งเริ่มมีการเเจก Tablet PC ให้กับการศึกษาใหม่เเล้ว เเต่การนำไปประยุกต์ใช้ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเเน่นอนเพราะยังต้องอาศัยการพัฒนาโปรเเกรมมารองรับเนื้อหาตำราในรูปแบบ E-Book ที่จะต้องมีจำนวนมากกว่านี้ ในขณะที่ Tablet PC ในไทยอาจเป็นได้เเค่เครื่องมือที่จูงใจนักศึกษาหรือสร้างภาพลักษณ์ที่ทันสมัยให้กับมหาวิทยาลัยก่อน เเต่ในอนาคตเมื่อราคาจำหน่ายของ Tablet PC ถูกลงกว่านี้จะมีจำนวนหนังสือตำราต่างๆทยอยเข้าสู่ E-Book มากขึ้น รวมทั้งจะมีการพัฒนาโปรเเกรมเพื่อรองรับการอ่าน E-Book เเบบไทยๆมากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้น Tablet PC จะกลายเป็นช่องทางใหม่ที่เปลี่ยนรูปโฉมการเรียนการสอนและการกระจายความรู้ให้เข้าถึงคนไทยอย่างมากมายมหาศาล

ที่มา

       http://www.tabletd.com/articles/289
       http://en.wikipedia.org/wiki/Tablet_computer#cite_note-Editors_PC_Magazine-0
      วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556




 

Social Media


Social Media

               Social Media หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่าย ของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือมากขึ้นเรื่อยๆ
              Social Network หมายถึง เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสร้างสังคมเครือข่ายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เช่น www.facebook.com ส่วน http://twitter.com เป็น micro blog site ชึ่งเป็น Social Media ชนิดหนึ่ง
ขั้นตอนการสมัครเข้าใช้งาน facebook
1.   เข้าไปที่ www.facebook.com
2.   กรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อีเมล์แอดเดรส รหัสผ่าน เพศ และวันเดือนปีเกิด
3.   คลิกปุ่ม Sign Up
4.   กรอกตัวอักษรตามภาพที่เห็น คลิกปุ่ม Sign Up
5.    Step 1 ให้เราเพิ่มเพื่อน แต่ให้เราข้ามไปก่อนได้ คลิก Skip this step
6.   Step 2 ให้เรากรอกชื่อสถานศึกษา ปีที่จบ หรือ กรอกบริษัทที่ทำงาน แต่ข้ามไปก่อนได้ คลิก Save & Continue
7.  Step 3 ให้เราคลิกเลือกอัพโหลดไฟล์ภาพแทนตัวคุณ แต่ข้ามไปก่อนได้ คลิก Save & Continue
การใช้งาน facebook
การโพสข้อความ
1.  ไปที่หน้า Profile ของคุณ
2.  พิมพ์ข้อความที่อยากจะโพสลงบนกล่องคุณกำลังคิดอะไรอยู่
3.  กด โพส เพื่อยืนยันข้อความ
การคอมเมนต์เพื่อน
1.  ไปยังข้อความอัพเดทของเพื่อนที่คุณต้องการคอมเมนต์
2.  คลิกแสดงความคิดเห็น
3.  พิมพ์ข้อความที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
4.  กด Enter
การโพสรูปลงใน facebook
1.  ให้กดที่ (Photos) เพื่อทำการเลือกอัพโหลดรูป
2.   เมื่อคลิกแล้วจะมีให้เลือกวิธีอัพโหลดรูปด้วยกัน 3 วิธี คือ Upload a Photo / Take a Photo / Create an Album Upload a Photo : from your drive -> การเลือกไฟล์รูปภาพจากในคอมพิวเตอร์ หรือ External HDD. โพสลงใน Facebook
Take a Photo : with a webcam -> การถ่ายรูปผ่านทาง Web Cam ในขณะนั้นและโพสลงใน Facebook ทันที
Create an Album : with many photos -> การสร้างอัลบั้มรูปภาพขึ้นมา เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโพสรูปลงเป็นจำนวนมาก
3. กรณี Upload a Photo : เมื่อคลิกแล้ว จะมีช่องให้กดเลือกไฟล์ภาพที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาโพส ให้กดที่ Browse เพื่อเปิดหน้าต่าง My Picture ขึ้นมา จากนั้นเลือกโฟลเดอร์รูปภาพที่เราต้องการ แล้วคลิกที่ไฟล์รูปนั้น แล้ว กด Open 4. จากนั้น ช่องด้านบน สามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไปพร้อมๆกับรูปภาพที่โพสได้ด้วย แต่ถ้าไม่ต้องการพิมพ์ อะไรเพิ่ม ก็สามารถละไว้ได้ 5. กด เพื่อทำการอัพโหลดรูปขึ้นบน Facebook 6. เมื่อโพสเสร็จ รูปก็จะปรากฏขึ้นตรงหน้า Wall บน Facebook
7. นอกจากนี้ รูปที่โพส เพื่อนๆ หรือ คนอื่นๆ สามารถร่วมแสดงความคิดเห็น, ความชื่นชอบ และแบ่งปันรูปไปไว้บน หน้า Page ของตัวเองได้อีกด้วย
แชร์ facebook กับ Twitter
1. เข้ามาที่เว็บ http://www.facebook.com/twitter
2. กด link My Profile to twitter
3. กด Authorize app
4. กด บันทึกการเปลี่ยนแปลง
5. เริ่มทำการโพสข้อความจากหน้า facebook ได้เลย ข้อความก็จะปรากฏบนหน้าเว็บทั้ง 2 เว็บให้อัตโนมัติ
5 ขั้นตอนการ สมัครใช้งาน Twitter
Twitter เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร เพื่อสื่อสารกับเพื่อนในเครือข่าย
1.   อันดับแรก คุณต้องเข้าไปที่ http://www.twitter.com และคลิกปุ่ม Sign up now
2.   กรอกรายละเอียดส่วนตัว สำหรับการใช้งาน Twitter
ซึ่งข้อมูลที่จำเป็นต้องกรอกประกอบด้วย
- Full name : ชื่อเต็มของเรา - Username : ชื่อที่ใช้ในการเล่น Twitter - Password : รหัสผ่านส่วนตัว และควรเก็บเป็นความลับ - Email : อีเมล์ของเราที่ใช้งานได้จริง - Type the words above : กรอกตัวอักษรที่เห็นตามภาพข้างบน เพื่อยืนยัน
3.    ในขั้นตอนนี้ ระบบจะทำการเชิญเพื่อนในลิสต์เมล์ของเรา หากไม่ต้องการ ให้ทำการคลิก “Skip this step ”
4. หลังจากนั้น Twitter จะทำการแนะนำเพื่อนให้เราติดตาม (follow) หากไม่ต้องการ ให้ทำการคลิกช่อง select all ออก แล้วคลิกเลือก Finish
5. มาเริ่ม Tweet กันได้เลย
- กรอกข้อความที่ต้องการส่งในช่อง “What are you doing”
- กดปุ่ม “update”
แชร์ Twitter กับ facebook
การโพสข้อความครั้งเดียว สามารถปรากฏบน twitter และ facebook ได้พร้อมกัน
1. เข้ามาที่เว็บของ Twitter แล้วคีย์ URL ดังนี้ http://twitter.com/goodies/widgets
2. คลิกเลือกแท็บ facebook แล้วคลิกที่ facebook Application อีกครั้ง
3. คลิกที่คำสั่ง Insatall Twitter in facebook เพื่อติดตั้ง Twitter บน facebook สำหรับลิงค์ฐานข้อมูลระหว่างกัน
4. จากนั้นจะเข้ามาที่หน้าจอของ facebook ให้ล็อกอินเข้าใช้ระบบ
5. ใส่ชื่อแอคเคาท์และรหัสผ่าน Twitter ของคุณเอง เพื่อให้ facebook ทราบว่าดึงข้อมูลจากที่ไหน
6. คลิกปุ่ม Allow เพื่อยอมรับการใช้ Twitter สามารถเปิดใช้งานบน facebook ได้
7. คลิกเลือก 􀀻 หน้าส่วนที่ต้องการให้อัพเดทการโพส (อาจมีมากกว่า 2 ตัวเลือก)
8. จากนั้นจะมีหน้าต่างขึ้นมา ให้คลิกปุ่ม Allow เพื่อยืนยัน
9. เริ่มทำการโพสข้อความจากหน้าเว็บ Twitter ได้เลย ข้อความก็จะปรากฏบนหน้าเว็บทั้ง 2 เว็บให้อัตโนมัติ
           การ Retweet หรือการ Share ข้อมูลเพื่อนใน facebook เป็นการสร้างกระแสแนะนำให้ Retweet หรือ Share ข้อมูล, บทความ, URL link จาก Website กรมควบคุมโรค ที่ www.ddc.moph.go.th หรือ Website อื่นๆ ในด้าน สาธารณสุขที่น่าเชื่อถือได้ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กรมต่างๆ ในกระทรวง สำนัก/สถาบัน ต่างๆ ในกรมควบคุมโรค การโพสข้อความหรือ Retweet หรือ Share ข้อความ รูปภาพ หรือ สิ่งอื่นๆ ใน internet สมควรใช้วิจารณญาณ เพราะอาจเข้าข่าย การนำเข้าหรือเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม ซึ่งมีความผิด ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ..2550 มาตรา14 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
ตัวอย่าง Social Media

          Tools & Service ต่างๆเกี่ยวกับ Social Media Tools & Service ต่างๆเกี่ยวกับ Social Media นั้นออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ที่ฮิตๆติดหูพวกเรานั้นส่วนใหญ่จะอยู่ด้านขวาของ Chart ที่มาจาก fredcavazza


Social Media กับพลังในการสร้างกระแสแบ่งปันและช่วยเหลือสังคม
 
 
 
ที่มา
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/
http://ndesignrank.exteen.com/page/2
วันที 24 กุมภาพันธ์ 2556
 

 

Video Conference


                               Video Conference
โมเดลของ Video Conference 
 
            การประชุมทางไกล (Videoconferencing) เป็นเทคโนโลยีรูปแบบหนึ่งของความร่วมมือองค์กร ในการใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระยะไกล ที่ลดเวลา ลดต้นทุนงบประมาณ การสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ที่มีเครือข่าย อยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้ โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมที่เดียวกัน


              ความหมาย
              การประชุมทางไกล (Videoconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทาง สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพ เสียงและข้อความ กราฟิกต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ เพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ

             ความสำคัญ
            Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดย ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของ ตัวเองและ ภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง, ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟน ส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับ มาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกล คือ สามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและ
ค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ทางหนึ่ง

             การติดตั้งระบบ Video Conference
             ระบบ Video Conference นี้ จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียน การสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุดได้มาประชุมเสมือนอยู่ในห้อง เดียวกัน มีประธานในการประชุม สามารถ share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็นเหมือนกัน เสนอผ่านความเห็นต่างๆ ได้ เช่น การ Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet เป็นต้น งานประชุมหรืองานการเรียนการสอน สามารถดำเนินไปได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อุปกรณ์ในระบบ Video Conference มีอุปกรณ์เบื้องต้น ดังนี้
1. ชุดอุปกรณ์ Codec ระบบบีบอัดข้อมูลและรับส่ง จัดการระบบการประชุม
2. กล้องจับภาพ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec
3. กล้องจับภาพ (เสริม) เป็นชนิดกล้องวิดีโอ เช่น กล้อง Mini-DV ใช้ในกรณีของการประชุมใหญ่ๆ และพื้นที่ ห้องประชุมคับแคบ จำเป็นต้องเพิ่มกล้องช่วยจับภาพ
4.อุปกรณ์นำเสนอต่างๆ เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องนำเสนอวัตถุ 3 มิติ เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เป็นต้น
5.จอรับภาพ โดยทั่วไปจะเป็นจอฉากใหญ่ที่รับภาพจาก Projector และอาจเพิ่มได้ตามขนาดห้อง หรือขนาด ความจุผู้เข้าประชุม ซึ่งเพิ่มเป็นถึง 4 จอ คือ จอภาพสำหรับนำเสนอ, จอผู้พูดฝั่ง Near, จอผู้พูดฝั่ง Far และจอบันทึกการประชุม
6.ระบบเครื่องเสียงชุดประชุม ซึ่งมีทั้งเครื่องควบคุม เครื่องขยายเสียง เครื่องผสมสัญญาณเสียง ลำโพงและ ไมโครโฟนอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ จะใช้งบประมาณเริ่มต้นเพียง 200,000 - 300,000 บาท (สำหรับระบบขนาดเล็ก ไม่ใหญ่มากนัก) ขึ้นอยู่กับ ระดับคุณภาพของอุปกรณ์

หลักเบื้องต้นการติดตั้ง มีดังนี้
1.เชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียงอุปกรณ์ทั้งหมดให้เรียบร้อย ได้แก่ Codec-Network-กล้องเสริม-จอโทรทัศน์-Projector-เครื่องนำเสนอ-Computer-เครื่องบันทึก-ระบบเสียงชุดประชุม (ตามความต้องการใช้งาน)
2.เชื่อมต่อ Codec เข้ากับระบบ Network (ขั้นตอนนี้ต้องประสานกับฝ่าย Network เพื่อ Config IP ให้กับ Codec)
3.ทดสอบการแสดงผลของภาพและเสียงในฝั่งของตนเองให้ถูกต้อง เมื่อติดตั้งและทดสอบเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ ทำ
การติดต่อกับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อทำการทดสอบ Conference ระหว่างวิทยาเขตต่อไปหลักในการจัดวางตำแหน่งอุปกรณ์ระบบการประชุมทางไกล

               สรุปและบทบาท
              การประชุมทางไกล การติดต่อสื่อสารต่างๆ ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างล้ำหน้า ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลต่างๆที่ทันสมัยรวดเร็วตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจประเภทต่างๆได้ และการติดต่อสื่อสารประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมก็คือ การประชุมทางไกล โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารสมัยใหม่ การประชุมทางไกลโดยการจัดอุปกรณ์ให้ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งอยู่คนละสถานที่กันสามารถประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้โดยใช้อุปกรณ์ สื่อสาร เราเรียกการประชุมแบบนี้ว่า Teleconference ในกรณีที่การประชุมนั้นมีอุปกรณ์ที่ทำให้เห็นภาพ และได้ยินเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมไปพร้อมกันด้วยเราเรียก Video Conference มีอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ กล้อง ไมโครโฟน และจอรับภาพ สำหรับประเทศไทยได้มีหน่วยงานทั้งภาพรัฐและเอกชนที่ให้บริการในลักษณะ Video Conference เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย โรงแรมบางแห่งและบริษัทผู้ประกอบกิจการด้านโทรคมนาคม ซึ่งจะทำให้บริการประชุมทางไกลทั้งในประเทศและระหว่างประเทศโดยใช้บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล หรือ ISDN ซึ่งเป็นเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร และคอมพิวเตอร์ที่ทำงานกันคนละระบบ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกรวดเร็วขึ้น การประชุมแบบจอภาพ Video Conference ผ่านระบบเครือข่ายISDN จึงถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ ทันสมัย สามารถติดต่อสื่อสารทางไกลกับอีกซีกโลกหนึ่งในลักษณะมัลติมีเดียได้อย่างครบถ้วนในเวลาเดียว จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและพัฒนาธุรกิจให้รุดหน้าได้เร็ว
 
ตัวอย่าง  Video Conference
ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อ Video Conference
จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์
          
              ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากติดตั้งชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย กล้องคอนเฟอร์เรนซ์ , Codec, Microphone , ลำโพง,จอภาพ เป็นการต่ออุปกรณ์ของยี่ห้องโพลีคอมที่มีคุณสมบัติเฉพาะสามารถประชุมกันได้ 4 ที่ โดยไม่ต้องผ่าน MCUซึ่งจากภาพยกตัวอย่างการประชุมคอนเฟอร์เรนซ์ส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) ไปยังต่างจังหวัดทั้งหมด 3 จังหวัดซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีหมายเลขไอพีสาธารณะ (public IP)โดยการทำงานของคอนเฟอร์เรนซ์ เริ่มจากส่วนกลางเป็นเจ้าภาพในการประชุม จากนั้นทั้ง 3 จังหวัด จะทำการ call เข้ามาที่ส่วนกลางเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์โคเด็ก ซึ่งแต่ละsiteจะมีโคเด็กเป็นตัวรับและส่งหรือเข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านช่องสัญญาณ ADSL ซึ่งแต่ละsite จะสามารถเชื่อมต่อกันได้ผ่านหมายเลขไอพี เมื่ออุปกรณ์เชื่อมต่อกันแล้วจะสามารถสนทนากันได้


ตัวอย่างแผนภาพการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่าน MCU
 
จากภาพข้างบนหลักการทำงานของการเชื่อมต่อวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่าน MCU
 
           ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากติดตั้งชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย กล้องคอนเฟอร์เรนซ์ , Codec, Microphone,ลำโพง,จอภาพเป็นการต่ออุปกรณ์ของยี่ห้องโพลีคอมผ่านอุปกรณ์ MCUสามารถรองรับการประชุมได้หลายจุดซึ่งจากภาพยกตัวอย่างการประชุมคอนเฟอร์เรนซ์ ส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) ไปยังต่างจังหวัดทั้งหมด 4 จังหวัดซึ่งแต่ละจังหวัดจะมีหมายเลขไอพีสาธารณะ (public IP) โดยการทำงานของคอนเฟอร์เรนซ์เริ่มจากโคเด็กเชื่อมต่อหมายเลขไอพีกับ MCU(Multipoint Control Unit(MCU) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่รวบรวม,ประมวลผลและควบคุมการประชุมที่มากกว่า 2 การประชุมขึ้นไปอุปกรณ์ชนิดนี้มีทั้งแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ MCU ที่ใช้ Software base จะทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดว์NT/2000 server,Unix และ Linux) และต่อ Notebook เข้ากับ MCU เพื่อใช้ Control การทำงานทั้งหมดจากนั้นทุก site จะทำการ call เข้ามาที่ส่วนกลางโดยผ่านช่องสัญญาณ ADSL โดยมี H.323 เป็นตัวเชื่อมต่ออุปกรณ์ Video conference Over IP สามารถคุยกับอุปกรณ์ Video Conference Over ISDN จากนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ control จะทำการเชื่อมต่อทุก site ให้ทำงาน
ที่มา www,peak.co,th | www,av-shopping,com
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Webquest



Webquest

           Web Quest เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมากในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยเรานั้นยังนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนค่อนข้างน้อย จะมีบ้างก็ในสถาบันอุดมศึกษา ท่านศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.webquest.orgสำหรับ Web Quest เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ โดยใช้ ICT เป็นฐานการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับแหล่งเรียนรู้ต่างๆ บนเครือข่ายอินเทรอืเน็ต ทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่ได้จากการเรียนด้วยตนเอง การใช้ web quest ยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการแก้ปัญหา เป็นวิธีการเรียนที่เน้นความสำคัญที่ผู้เรียน
           องค์ประกอบ Web Quest
           การจะสร้างแหล่งการเรียนรู้ด้วย Web Quest ได้นั้นผู้สอนควรทราบถึงองค์ประกอบหลักในการจัดสภาพแวดล้อมของผู้เรียน โดยต้องคำนึงถึง การออกแบบ การวางแผนการสอน และการพัฒนาบทเรียน(Web Quest) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ชื่อเรื่อง
2. เลือกการออกแบบ
3. เครื่องมือในการพัฒนา
4. การสร้างเครื่องมือการประเมิน
5. การพัฒนากระบวนการ
6. การทดสอบ / เผยแพร่
7. การประเมินผล
          Webquest "บทเรียนแสวงรู้บนเว็บ
          Web Quest คือกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงรู้ โดยมีฐานสารสนเทศที่ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ด้วย บนแหล่งต่างๆบนอินเทอร์เน็ต และอาจเสริมด้วยระบบการประชุมทางไกล โดยมีเป้าหมายที่จะนำแหล่งความรู้ที่หลากหลายบนเครือข่าย World Wide Web มาใช้เป็นฐานในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยผู้เรียนแสวงรู้จากแหล่งความรู้ที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ Web Quest ได้รับการออกแบบที่จะใช้เวลาของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้สารสนเทศมากกว่าการแสวงหาสารสนเทศ  (วสันต์ อติศัพท์, 2547) ได้ให้คำจำกัดความภาษาไทยว่า บทเรียนแสวงรู้บนเว็บซึ่งหมายถึงเว็บเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถที่จะสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

           ความหมายโดยรวม Web Quest คือเป็นการใช้แหล่งความรู้ที่มีอยู่มากมายบนระบบอินเทอร์เน็ตมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้สอนในรูปแบบของกิจกรรมและสมมติฐาน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการ ฝึกนิสัยและทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กระบวนการทำงานกลุ่มและการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ บนระบบอินเทอร์เน็ต
ประเภทของ Web Quest
1. Web Quest ระยะสั้น (Quest Short Term Web Quest ) มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาและบูรณาการความรู้ในระดับเบื้องต้น ที่ผู้เรียนจะเผชิญและสร้างประสบการณ์กับแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่สำคัญจำนวนหนึ่งและสร้างความหมายให้กับประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเอง Web Quest ประเภทนี้ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1 - 3 คาบเรียน
2. Web Quest ระยะยาว (Longer Term Web Quest) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระดับการคิดขั้นสูงของผู้เรียน ซึ่งเมื่อจบบทเรียนแล้ว ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ลึกซึ้งและถ่ายโอนไปใช้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้ และสามารถแสดงออกถึงความเข้าใจในเนื้อหานั้นด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมา อาจจะอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือในรูปแบบอื่นก็ได้ โดยทั่วไป Web Quest แบบนี้จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน
             หลักการออกแบบ Web Quest
            หลักการสำคัญในการออกแบบ Web Quest เพื่อส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนระดับต่างๆดังนี้
1. จัดหาหัวเรื่องที่เหมาะสมกับการสร้าง Web Quest จูงใจผู้เรียน เพราะ Web Quest เป็นงานสร้างสรรค์ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมใหม่ด้วยการประกอบกิจกรรมเองเป็นหลัก
2. จัดหาแหล่งสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ Web sites ต่างๆ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญที่จะต้องได้รับการจัดหา คัดสรร และจัดหมวดหมู่เป็นอย่างดี ผ่านการกลั่นกรองว่ามีเนื้อหาที่สอดคล้องต่อหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างสรรค์กิจกรรมใน Web Quest นั้นมีสิ่งที่ควรคำนึงต่อไปนี้
- เน้นการใช้กิจกรรมกลุ่ม ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันประกอบกิจกรรม ร่วมกันคิด ร่วมประสบการณ์และร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานออกมา ทั้งในชั้นเรียน ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ที่บ้าน
- การจูงใจผู้เรียน ด้วยการให้ผู้เรียนเข้าไปมีบทบาทในบทเรียนในรูปของบทบาทสมมติให้มากที่สุด ไม่ว่าในฐานะนักวิทยาศาสตร์ นักสืบ ผู้สื่อข่าว หมอ ฯลฯ สร้างสถานการณ์ให้น่าสนใจ เร้าใจให้พวกเขาติดตาม ร่วมกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง
- การพัฒนาในรูปแบบรายวิชาเดี่ยวหรือแบบสหวิทยาการ ในรูปแบบแรกอาจจะดูง่ายในการพัฒนาแต่อาจจะจำกัดการเรียนรู้ สร้างประสบการณ์ชีวิตในบริบทจริง ในขณะที่รูปแบบหลังส่งเสริมประเด็นนี้ได้ดีกว่า และสร้างประสบการณ์ในเชิงลึกแก่ผู้เรียน
4. พัฒนาโปรแกรม สามารถทำได้ทั้งด้วยการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้าง web page ด้วยตนเอง ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปประเภท FrontPage, Dream Weaver, Composer, etc. หรือการจัดหาต้นแบบ(Template) ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งทำให้ง่ายเพราะเพียงแต่ออกแบบกิจกรรมและเอาเนื้อหาใส่เข้าไป ซึ่งจะลดปัญหาด้านความจำกัดเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงไป ผู้ที่ต้องการต้นแบบนี้สามารถหาได้จาก websites ต่างๆ ได้ไม่ยากนัก
5. ทดลองใช้และปรับปรุง ด้วยการหากลุ่มเป้าหมายมาทดลองใช้บทเรียน ดูจุดดีจุดด้อยของบทเรียนและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

           องค์ประกอบของ Web Quest
          Web Quest ที่ดีจะต้องได้รับการออกแบบสำหรับผู้เรียนที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน เป็นโครงการที่สร้างสรรค์ ที่มีช่องทางที่ยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียนที่จะแสดงออกและการเชื่อมต่อกับแหล่งความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ต่อโครงการ สิ่งที่ควรเน้นคือการเรียนรู้อย่างร่วมมือระหว่างผู้เรียน โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 6 ส่วนคือ
1. บทนำ (Introduction) เป็นขั้นเตรียมตัวผู้เรียนในการที่จะนำเข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปมักจะเป็นการให้สถานการณ์ ที่จะให้ผู้เรียนร่วมแก้ปัญหา หรือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้
2. ภารกิจ (Task) เป็นปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญที่ผู้เรียนจะต้องดำเนินการเพื่อหาคำตอบ
3. กระบวนการ (Process) เป็นการชี้แจงว่าผู้เรียนจะต้องปฏิบัติกิจกรรมใดบ้าง เพื่อให้บรรลุภารกิจที่วางไว้ โดยมีความยืดหยุ่นให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ด้วย จะต้องกิจกรรมทีนำไปสู่ขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์และการประเมินค่า กิจกรรมนั้นควรที่จะเน้นการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) และ กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning)
4. แหล่งความรู้ (Resources) เป็นการให้แหล่งสารสนเทศที่มีบน World Wide Web เพื่อว่าผู้เรียนสามารถนำสาระความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมาย โดยเน้นแหล่งความรู้หลายแหล่ง และมีความหลากหลาย
5. การประเมินผล (Evaluation) เป็นขั้นการติดตามว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด จะเน้นการวัดผลในสภาพที่เป็นจริง (Authentic assessment) ซึ่งอาจออกมาในรูปของการประเมินเชิงมิติ(Rubrics) การจัดทำแฟ้มข้อมูล (Portfolio)
6. สรุป (Conclusion) บอกความสำคัญของเนื้อหาบทเรียนนั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดที่ได้ช่วยกันแสวงหาและสร้างขึ้นมาเอง

Web Quest ที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ง่ายต่อความเข้าใจในการใช้
2. ใช้แหล่งความรู้ที่ดีและมีคุณภาพ
3. สร้างบทเรียนที่จูงใจผู้เรียน
4. ขั้นภารกิจต้องอธิบายให้ชัดเจน
5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์
6. เสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุกสนานให้แก่ผู้เรียน
7. ช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสืบค้นข้อมูล
8. ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม
            Web Quest เป็น บทเรียนแสวงรู้บนเว็บที่สร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในการเรียนรู้ในสังคมสารสนเทศ ที่มีแหล่งความรู้ที่หลากหลายและไร้พรมแดน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนไม่เพียงแต่ได้องค์ความรู้ที่กลุ่มผู้เรียนสร้างสรรค์ขึ้นเอง หากแต่ผู้เรียนยังได้พบกับโลกกว้างแห่งความรู้ สิ่งที่ต้องคำนึงคือการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดอย่างตริตรอง ใคร่ครวญในสารสนเทศที่ได้มา เพราะยังมีสารสนเทศบน World Wide Web อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองและผู้ออกแบบบทเรียนประเภทนี้ต้องคำนึงถึงจุดอ่อนนี้ด้วย
 

ตัวอย่าง  Web Quest 

 
 
 
 


แหล่งอ้างอิง

http://www.pochanukul.com/?p=46

http://www.ipst.ac.th/it/rosegarden/somsri.htm

http://www.wikipedia.org

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556