วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบนิเวศป่าดิบชื้น

ระบบนิเวศป่าดิบชื้น

 


             ป่าดิบชื้นในประเทศไทยปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปจนสุดชายแดนของประเทศไทย ซึ่งต่อกับคาบสมุทรมลายู โดยเฉพาะบนที่ราบต่ำ และเนินเขา จนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร และยังพบเป็นหย่อมๆ ปะปนอยู่กับป่าดิบแล้งในภาคตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จันทบุรี ตราด ด้วย ป่าดิบชื้นทางภาคใต้ของไทย แบ่งออกเป็น 2
ประเภท คือ


- ป่าดิบชื้นแบบไทย (Thai-type Rainforest) ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี มากกว่า 2,000 - 2,500 ม.ม.
- ป่าดิบชื้นแบบมลายู (Malayan-type Rainforest) ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี มากกว่า 2,500 ม.ม.

        สิ่งมีชีวิตในป่าดิบชื้น
         พรรณไม้ในป่าดิบชื้นประกอบด้วยต้นไม้ชั้นบนซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ตระกูลยาง (Dipterocarpaceae) มักมีลำดับสูงตั้งแต่ 30 ถึง 50 เมตร และมีขนาดใหญ่มาก ถัดลงมาก็เป็นต้นไม้นาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งสามารถขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ได้ รวมทั้งต้นไม้ในตระกูลปาล์ม (Palmaceae) ชนิดต่างๆ พื้นป่ามักรกทึบและประกอบด้วยไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ระกำ หวาย ไม้ไผ่ต่างๆบนลำต้นไม้ใหญ่จะมีพันธุ์ไม้จำพวก epiphytes เช่น พวกเฟิร์น กล้วยไม้ และมอส ขึ้นอยู่ทั่วไป เถาวัลย์ในป่าชนิดนี้จะมีมากกว่าในป่าชนิดอื่นๆ พรรณไม้ในป่าดิบชื้นที่สำคัญ เช่น ยาง ตะเคียน กะบาก เคี่ยม จำปาป่า หลุมพอ มะหาด มะม่วงป่า มะยมป่า ตาเสือ ย่านดาโอ๊ะหรือใบไม้สีทอง ไม้พื้นล่าง เช่น ไผ่หก ระกำ กระวาน หวาย เถาวัลย์ชนิดต่างๆ


 
           ความสัมพันธ์ภายในระบบนิเวศป่าดิบชื้น
           สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศป่าดิบชื้นมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองทั้งในด้านการพึ่งพาอาศัย การแก่งแย่งกันเพื่อให้เกิดความสมดุลธรรมชาติในระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวแบ่งออกได้ดังนี้
- การล่าเหยื่อ (Predation) เช่น เสือล่ากวาง
- การอิงอาศัยหรือการเกื้อกูล (Commensalism) เช่น เถาวัลย์ เฟิร์น กล้วยไม้
- เกาะต้นไม้ใหญ่ ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation) เช่น แมลงกับดอกไม้
- ภาวะพึ่งพากัน (Mutualism) เช่น โปรโตซัว ในลำไส้ ปลวก รากับสาหร่ายที่อยู่ร่วมกันของไลเคน
- ภาวะปรสิต (Parasitism) เช่น กาฝากกับต้นไม้ ทากดูดเลือดหรือเห็บกับสัตว์ตัวใหญ่
- สภาวะการย่อยสลาย (Saprophytism) เช่น การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยซากของสิ่งมีชีวิต
- ทำให้ซากย่อยสลายสู่ระบบนิเวศในธรรมชาติได้ เช่น เห็ด รา แบคทีเรีย เป็นต้น
 
http://www.tropicalforest.or.th/p43.htm  วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556


 

ระบบนิเวศป่าชายเลน

ระบบนิเวศป่าชายเลน

 



            ป่าชายหาดเป็นระบบนิเวศแบบหนึ่งซึ่งประเทศไทยไม่เคยให้ความสำคัญและละเลยในการอนุรักษ์รักษาป่าชายหาด แต่เมื่อมีการประกาศอุทยานแห่งชาติทางทะเล ทำให้พื้นที่ชายหาดบางส่วนได้รับการอนุรักษ์ไว้ ในขณะเดียวก็ยังมีพื้นที่ชายหาดอีกหลายแห่งถูกทำลายและเปลี่ยนสภาพไปจนสูญสิ้นเหมือนกับระบบนิเวศอื่น ๆ เช่นป่าพรุ หรือป่าชายเลน ที่พึ่งจะมาเริ่มอนุรักษ์กันเมื่อใกล้จะหมด

ระบบนิเวศป่าชายหาด

           ชายฝั่งทะเลหรือตามเกาะแก่ง ที่มีดินทรายจัด เป็นสันทราย น้ำทะเลท่วมไม่ถึง และมีไอเค็มที่พัดจากทะเล นับเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดป่าชายหาด พืชชายหาดที่เกิดและเติบโตขึ้นได้จะต้องปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ เช่น การขาดแคลนน้ำจืดในบางฤดูกาล คลื่นลมที่มีความรุนแรง แสงแดดที่มีความร้อน เป็นต้น ต้นไม้ส่วนใหญ่ที่พบจึงมีลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นคดงอ และแตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งสั้น ใบหนาแข็ง

            ระบบรากถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของพรรณไม้ป่าชายหาด เนื่องจากสันทรายหรือชายหาดที่พืชเกาะอยู่นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รากของพืชประเภทนี้จึงมีลักษณะที่สามารถงอกได้ตามข้อและงอกรากได้ใหม่ตามการทับถมของทรายที่พัดเข้ามาพอกพูน เมื่อรากเจริญเติบโตขึ้นก็จะพัฒนากลายเป็นลำต้นยึดเหนี่ยวทรายไว้ และจะรุกคืบจนกระทั่งครอบคลุมชายหาดนั้น

            แต่ในบางครั้งที่มีพายุหรือลมพัดแรง พรรณพืชเหล่านี้ก็อาจจะถูกทรายทับถมหรือน้ำทะเลท่วมถึงจนตายไป แต่เมล็ดพันธุ์ของหญ้าหรือผักบุ้งที่อาจลอยอยู่ในทะเลก็จะถูกพัดขึ้นสู่ฝั่ง งอกเงยขึ้นเป็นพรรณพืชชายหาดขึ้นมาอีกครั้ง
 



พรรณพืชป่าชายหาด

         หญ้าเป็นพืชเบิกนำของป่าชายหาดรุ่นแรก ๆ มีระบบรากที่สานกันเป็นร่างแห ยึดหน้าทรายเอาไว้เช่น หญ้าลิงลม ผักบุ้งทะเล เมื่อรากเจริญเติบโตจนเป็นเถาก็จะช่วยยึดทรายให้มั่นคงมากขึ้น ผักบุ้งทะเลสามารถที่จะเลื้อยครอบคลุมพื้นที่ออกไปได้ไกลมาก ตามเถาของผักบุ้งทะเลสามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวของเมล็ดหญ้าและไม้ใหญ่บางชนิด เช่น สนทะเล ลำเจียก เอนอ้า ฯลฯ

         ลักษณะของพืชชายหาด เช่น ต้นพลับพลึง รักทะเล ปอทะเล จะชอบขึ้นกลุ่ม ๆ จึงเปรียบเสมือนกำแพงกันคลื่นลม ให้กับพืชชายหาดชนิดอื่น ๆ ที่ทนเค็มและลมได้น้อยกว่าได้มีโอกาสเจริญเติบโต
ป่าชายหาดบางแห่งที่ชายฝั่งเป็นหิน จะเป็นบริเวณที่ของพืชที่มีลำต้นสูงไม่มากและคดงอด้วยแรงลม แต่จะมีเรือนยอดที่ต่อเนื่องกันโดยตลอดและแน่นทึบจนถึงดิน เช่น ต้นหูกวาง โพธิ์ทะเล โพธิ์กริ่ง และกระทิง เป็นต้นถัดจากพืชที่อยู่ติดกับชายทะเล อาจมีพืชบางชนิดที่เกิดขึ้นเป็นสังคมพืชป่าบึงน้ำเค็มโดยจะขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ๆ พรรณพืชส่วนใหญ่ เป็นการผสมกันระหว่างป่าชายหาดกับป่าชายเลน

         เมื่อพื้นดินยกสูงขึ้น หรือมีอินทรียวัตถุทับถมมากขึ้นก็จะพัฒนาเข้าสู่สังคมป่าชายหาดที่สมบูรณ์และอาจพัฒนาต่อไปเป็นป่าประเภทอื่นตามลักษณะภูมิประเทศแต่ละแห่งซึ่งอาจใช้เวลาในการวิวัฒนาการนับสิบหรือร้อยปีการก่อเกิดป่าชายหาดจึงมีวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องยาวนาน มีคุณประโยชน์และหน้าที่ของระบบนิเวศที่สำคัญในการยึดเหนี่ยวสันทรายและรักษาชายฝั่งทะเล เปรียบเสมือนตัวที่รักษาสมดุลระหว่างรอยต่อของทะเลกับป่าบนบก

ที่มา seub.or.th และรูปภาพจาก volunteerspirit.org  วันที่ 1 กุมภาพันธ์  2556

 

 

 

ระบบนิเวศป่าชายเลน

ระบบนิเวศป่าชายเลน

 
 
             ระบบนิเวศป่าชายเลน
           สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของป่าชายเลนมีความแตกต่างออกไปอย่างมากจากป่าชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะดิน เนื่องจากมีสภาพเป็นดินเลนในที่ราบกว้างใหญ่ ดินเหล่านี้มีความอุดมสมบูรณ์สูงจากธาตุอาหารที่ไหลมาจากแหล่งต่างๆ เช่น จากการกันเซาะตามชายฝั่งและแหล่งน้ำลำธาร อีกส่วนหนึ่งมาจากซากพืชซากสัตว์ในบริเวณป่าชายเลนเอง โดยเฉพาะใบไม้ที่ร่วงหล่นทับถมกันเป็นจำนวนมาก แพลงค์ตอนพืชและสาหร่าย ส่วนสภาพความเค็มของน้ำบริเวณนี้มีระดับค่อนข้างต่ำ เนื่องจากมีน้ำจืดไหลลงมาปะปนกับน้ำทะเลจึงทำให้น้ำบริเวณนี้เป็นน้ำกร่อย ระดับความเค็มของน้ำดังกล่าวยังเปลี่ยนแปลงไปได้ตามระดับน้ำที่ขึ้นลงเป็นประจำ กล่าวคือ ระดับความเค็มจะสูงขึ้นเมื่อน้ำขึ้น และในขณะที่อยู่ในช่วงน้ำเกิด น้ำทะเลจะสามารถไหลเข้าสู่ป่าชายเลนได้เป็นระยะทางไกลขึ้น ซึ่งเป็นไปในทางกลับกันกับน้ำลงและช่วงน้ำตายตามลำดับ

             ลักษณะทางกายภาพดังกล่าวมีผลต่อชุมชนในป่าชายเลนเป็นอย่างมาก โดยมีผลทางตรงต่อชนิดและการกระจายของพันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ดังจะเห็นได้จาก ป่าชายเลนแหล่งต่างๆของโลก พันธุ์ไม้จะขึ้นอยู่ในลักษณะเป็นเขตแนวของแต่ละชนิด โดยมีแบบแผนแน่นอนจากบริเวณฝั่งน้ำเข้าไปด้านในของป่า อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากป่าบกทั่วไป ทั้งนี้เพราะลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ป่าที่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบ เทียบกันตั้งแต่ชายฝั่งถึงส่วนที่อยู่ลึกเข้าไป พันธุ์ไม้ต่างๆที่มีการปรับตัวมาจนขึ้นอยู่ได้ในเขตนี้ แม้จะปรับตัวมาในลักษณะคล้ายกัน แต่ยังคงมีความแตกต่างกันในบางส่วน ที่ทำให้สามารถเจริญและแพร่กระจายอยู่ได้ในบริเวณต่างกันของป่าชายเลนโดย เฉพาะบริเวณที่มีสภาพเป็นดินเลนลึก มีน้ำท่วมถึงเสมอกับบริเวณที่เป็นดินเลนตื้น และมีน้ำท่วมถึงเป็นบางครั้งบางคราว พันธุ์ไม้ที่จะขึ้นได้ในบริเวณที่เป็นดินเลนลึกจึงต้องมีรากค้ำจุนที่แข็ง แรงเป็นจำนวนมาก รากเหล่านี้ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงอยู่ได้ไม่โค่นล้มเมื่อถูกพายุพัดหรือ คลื่นซัด ได้แก่ พันธุ์ไม้พวก โกงกาง ต้นอ่อนจึงสามารถเจริญเติบโตตั้งแต้อยู่บนต้นแม่จนกระทั่งพร้อมที่จะงอกราก และเติบโตเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงทันทีที่ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน
 
 

            สำหรับสัตว์ต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนต่างก็ได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากสัตว์ในป่าบกทั่วไปเช่นกัน สัตว์ที่อาศัยอยู่ตาม เรือนยอดของพันธุ์ไม้ต่างๆในป่าชายเลนเป็นพวกที่ไม่จำเป็นต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะ ได้แก่ นก แมลง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดต่างๆ เช่น ลิง หนูค้างคาว เสือปลา นาก และแมวป่า รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด เต่า และงู เป็นต้น สัตว์พวกนี้อาจมีการอพยพไปมาจากป่าชายเลนสู่ป่าข้างเคียงได้ แต่สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าโดยอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตาม พื้นดิน รวมทั้งพวกที่อยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอดเนื่องจาก ต้องประสบกับสภาวะต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพไม่ เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัว และสภาพอุณหภูมิสูง สภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ สัตว์พวกนี้ได้แก่ หอย ปู กุ้ง หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน ไส้เดือนทะเล และครัสเตเชียน เป็นต้น
          อย่างไรก็ตามชุมชนในป่าชายเลนจะประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆจำนวนมาก ที่สามารถปรับตัวอยู่ได้และแพร่ลูกแพร่หลานเป็นจำนวนมาก ทำให้ป่าชายเลนมีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิดก็ได้อาศัยวางไข่และอนุบาลตัวอ่อนใน บริเวณนี้ โดยบางชนิดอาศัยอยู่จนครบวงจรของชีวิต
          ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในป่าชายเลนในแง่ของการถ่ายทอดพลังงาน เป็นแบบที่เริ่มต้นด้วยเศษอินทรียสาร (detritus) ซึ่งได้จากการสลายตัวของใบไม้ในบริเวณป่าชายเลนโดยจุลินทรีย์ผู้ย่อยสลาย อินทรียวัตถุเหล่านี้จะเป็นอาหารของพวกกินเศษอินทรียวัตถุ เช่น แอมฟิพอด หอย กุ้ง ปู และตัวอ่อนของแมลงต่างๆ จากพื้นก็จะถูกกินต่อๆกันไปตามลำดับขั้นของลูกโซ่อาหาร

สนิท อักษรแก้ว. 2532. ป่าชายเลน นิเวศวิทยาและการจัดการ
http://www.geocities.com/bangtabon/mangrove_eco.htm       วันที่ 1 กุมภาพันธ์  2556

 

 

ปะการังใต้ท้องทะเล

ปะการังใต้ท้องทะเล

 
 
               ปะการังเป็นแหล่งทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญ บริเวณชายฝั่งทะเลเป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์ทะเลจำนวนมาก เป็นแหล่งอาหาร เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่ และหลบภัยของสัตว์ทะเล นอกจากนั้นปะการังยังมีส่วนสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล การประมง และมีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพสมดุล ธรรมชาติของแนวชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่กระทบแนวชายฝั่ง ความสวยงามของแนวปะการังยังช่วยในด้านการพักผ่อนหย่อนใจและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ซึ่งปะการังที่มีสีสันสวยงามเหล่านี้เป็นพืชหรือสัตว์ทะเลกันแน่
              นิพนธ์ พงศ์สุวรรณ นักวิชาการประมง 8 สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน อธิบายว่า ปะการังเป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีโครงสร้างภายนอกเป็นหินปูนเปรียบเสมือนกระดูก ซึ่งหินปูนจะเป็นส่วนที่รองรับเนื้อเยื่อของตัวปะการัง โดยทั่วไปตัวปะการังจะมีรูปทรง เป็นทรงกระบอกเล็กๆ แต่ละกระบอกจะมีช่องเล็กๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของปะการังแต่ละตัว ที่ปลายกระบอกจะมีหนวดที่คอยดักจับสัตว์น้ำตัวเล็กๆ เช่น แพลงตอน เป็นอาหาร ดังนั้น เวลาน้ำลด ปะการังก็จะหดตัวเข้าไปอยู่ในช่องซึ่งถือเป็นบ้านของปะการัง จะเห็นว่าในปะการัง 1 ก้อน 1 กอ หรือ 1 แผ่น ประกอบไปด้วยปะการังจำนวนมาก โดยมีเนื้อเยื่อเชื่อมติดกัน
              ปะการังสามารถสืบพันธุ์ได้ 2 แบบ คือ แบบอาศัยเพศ โดยการปล่อยไข่และเสปิร์มออกมาผสมกัน เมื่อไข่ได้รับการผสมเรียบร้อยแล้วก็จะเกิดเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนก็จะลอยไปตามกระแสน้ำจนกว่าจะหาที่จับเกาะได้ และจะก่อสร้างบ้านใหม่ขึ้นมา อีกแบบหนึ่ง คือ แบบไม่อาศัยเพศ จะใช้การแตกหน่อออกไปเรื่อยๆ ตามลักษณะรูปร่างของปะการังแต่ละชนิด ปะการังที่พบทั่วไปมีพัฒนาการของการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มปะการัง หรือแนวปะการัง ซึ่งแนวปะการังจะเกิดจากการขยายพื้นที่ของปะการังชนิดต่างๆ
            ในเรื่องความงดงามของแนวปะการังนั้นประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก แนวปะการังที่งดงามและมีชื่อเสียงซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกคือแนวปะการังของหมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ ปัจจุบันมีการนำทรัพยากรชายฝั่งมาใช้ประโยชน์มากขึ้นทำให้แนวปะการังตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมอย่างน่าเป็นห่วง ถ้าหากว่าปะการังถูกทำลายหรือตายไปต้องใช้เวลานานมากกว่าจะพื้นคืนสภาพขึ้นมาได้

วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556


ประโยชน์ของสาหร่ายทะเล

 

ประโยชน์ของสาหร่ายทะเล

 
 
            สาหร่ายทะเลเป็นอาหารอร่อยจากทะเลอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางสารอาหารมากมาย ใช้ทำอาหารได้มากมายเช่น ต้มจืด ยำจิ้มนำพริก หรือจะใช้กินเล่นก็อร่อยเค็มๆ มันๆ ดี ทั้งเป็นอาหารว่างที่มีคุณค่ามากอีกด้วย คือมีทั้งไอโอดีน วิตามิน A B C E K แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฯลฯ เหมาะสำหรับเด็กๆ กินเป็นอาหารเสริม ในรูปแบบอาหารว่างแทนขนมขบเคี้ยวที่ไม่ค่อยจะมีประโยชน์มากนัก


สรรพคุณ / ประโยชน์ของสาหร่ายทะเล.


1.     ไอโอดีน โดยปกติแล้วคนเราต้องการไอโอดีนประมาณ 0.1-0.3 มิลลิกรัมต่อวัน หากเทียบกับการกินสาหร่ายทะเลชนิดแผ่นขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร แค่นี้ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันและช่วยป้องกันโรคคอพอกได้
2.      ธาตุเหล็ก เป็นสารอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในสาหร่ายทะเล ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณให้ดูเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลรวมทั้งบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นมันเงางามมากยิ่งขึ้น
3.      ทองแดง หน้าที่ดูดซึมธาตุเหล็กและสร้างฮีโมโกลบินที่ไขกระดูก หากร่างกายขาดธาตุนี้จะทำให้เป็นโรคโลหิตจางและผมร่วงง่าย
4.     สังกะสี เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิดในร่างกายช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
5.     ใยอาหาร ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระทำให้ท้องไม่ผูกและเร่งการขับถ่ายสารพิษต่างๆ ในทางเดินอาหาร
6.      อย่างไรก็ดี ถึงแม้คุณจะชอบสาหร่ายมากเพียงใดก็ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะในสาหร่ายมีปริมาณโซเดียมสูงผู้ที่เป็นโรคไตและความดันโลหิตสูงจึงควรระวัง
7.       สาหร่ายทะเลไม่เพียงอร่อย แต่ยังมากด้วยประโยชน์ ที่สำคัญมีราคาที่ไม่แพงนัก เห็นทีมื้อเที่ยงนี้ต้องมองหาสาหร่ายทะเลมาทำกับข้าวทานบ้างแล้ว

www.goodsadfind.com  วันที่ 1 กุมภาภาพันธ์ 2556