วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบนิเวศป่าชายเลน

ระบบนิเวศป่าชายเลน

 



            ป่าชายหาดเป็นระบบนิเวศแบบหนึ่งซึ่งประเทศไทยไม่เคยให้ความสำคัญและละเลยในการอนุรักษ์รักษาป่าชายหาด แต่เมื่อมีการประกาศอุทยานแห่งชาติทางทะเล ทำให้พื้นที่ชายหาดบางส่วนได้รับการอนุรักษ์ไว้ ในขณะเดียวก็ยังมีพื้นที่ชายหาดอีกหลายแห่งถูกทำลายและเปลี่ยนสภาพไปจนสูญสิ้นเหมือนกับระบบนิเวศอื่น ๆ เช่นป่าพรุ หรือป่าชายเลน ที่พึ่งจะมาเริ่มอนุรักษ์กันเมื่อใกล้จะหมด

ระบบนิเวศป่าชายหาด

           ชายฝั่งทะเลหรือตามเกาะแก่ง ที่มีดินทรายจัด เป็นสันทราย น้ำทะเลท่วมไม่ถึง และมีไอเค็มที่พัดจากทะเล นับเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดป่าชายหาด พืชชายหาดที่เกิดและเติบโตขึ้นได้จะต้องปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ เช่น การขาดแคลนน้ำจืดในบางฤดูกาล คลื่นลมที่มีความรุนแรง แสงแดดที่มีความร้อน เป็นต้น ต้นไม้ส่วนใหญ่ที่พบจึงมีลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นคดงอ และแตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งสั้น ใบหนาแข็ง

            ระบบรากถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของพรรณไม้ป่าชายหาด เนื่องจากสันทรายหรือชายหาดที่พืชเกาะอยู่นั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รากของพืชประเภทนี้จึงมีลักษณะที่สามารถงอกได้ตามข้อและงอกรากได้ใหม่ตามการทับถมของทรายที่พัดเข้ามาพอกพูน เมื่อรากเจริญเติบโตขึ้นก็จะพัฒนากลายเป็นลำต้นยึดเหนี่ยวทรายไว้ และจะรุกคืบจนกระทั่งครอบคลุมชายหาดนั้น

            แต่ในบางครั้งที่มีพายุหรือลมพัดแรง พรรณพืชเหล่านี้ก็อาจจะถูกทรายทับถมหรือน้ำทะเลท่วมถึงจนตายไป แต่เมล็ดพันธุ์ของหญ้าหรือผักบุ้งที่อาจลอยอยู่ในทะเลก็จะถูกพัดขึ้นสู่ฝั่ง งอกเงยขึ้นเป็นพรรณพืชชายหาดขึ้นมาอีกครั้ง
 



พรรณพืชป่าชายหาด

         หญ้าเป็นพืชเบิกนำของป่าชายหาดรุ่นแรก ๆ มีระบบรากที่สานกันเป็นร่างแห ยึดหน้าทรายเอาไว้เช่น หญ้าลิงลม ผักบุ้งทะเล เมื่อรากเจริญเติบโตจนเป็นเถาก็จะช่วยยึดทรายให้มั่นคงมากขึ้น ผักบุ้งทะเลสามารถที่จะเลื้อยครอบคลุมพื้นที่ออกไปได้ไกลมาก ตามเถาของผักบุ้งทะเลสามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวของเมล็ดหญ้าและไม้ใหญ่บางชนิด เช่น สนทะเล ลำเจียก เอนอ้า ฯลฯ

         ลักษณะของพืชชายหาด เช่น ต้นพลับพลึง รักทะเล ปอทะเล จะชอบขึ้นกลุ่ม ๆ จึงเปรียบเสมือนกำแพงกันคลื่นลม ให้กับพืชชายหาดชนิดอื่น ๆ ที่ทนเค็มและลมได้น้อยกว่าได้มีโอกาสเจริญเติบโต
ป่าชายหาดบางแห่งที่ชายฝั่งเป็นหิน จะเป็นบริเวณที่ของพืชที่มีลำต้นสูงไม่มากและคดงอด้วยแรงลม แต่จะมีเรือนยอดที่ต่อเนื่องกันโดยตลอดและแน่นทึบจนถึงดิน เช่น ต้นหูกวาง โพธิ์ทะเล โพธิ์กริ่ง และกระทิง เป็นต้นถัดจากพืชที่อยู่ติดกับชายทะเล อาจมีพืชบางชนิดที่เกิดขึ้นเป็นสังคมพืชป่าบึงน้ำเค็มโดยจะขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม ๆ พรรณพืชส่วนใหญ่ เป็นการผสมกันระหว่างป่าชายหาดกับป่าชายเลน

         เมื่อพื้นดินยกสูงขึ้น หรือมีอินทรียวัตถุทับถมมากขึ้นก็จะพัฒนาเข้าสู่สังคมป่าชายหาดที่สมบูรณ์และอาจพัฒนาต่อไปเป็นป่าประเภทอื่นตามลักษณะภูมิประเทศแต่ละแห่งซึ่งอาจใช้เวลาในการวิวัฒนาการนับสิบหรือร้อยปีการก่อเกิดป่าชายหาดจึงมีวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องยาวนาน มีคุณประโยชน์และหน้าที่ของระบบนิเวศที่สำคัญในการยึดเหนี่ยวสันทรายและรักษาชายฝั่งทะเล เปรียบเสมือนตัวที่รักษาสมดุลระหว่างรอยต่อของทะเลกับป่าบนบก

ที่มา seub.or.th และรูปภาพจาก volunteerspirit.org  วันที่ 1 กุมภาพันธ์  2556

 

 

 

1 ความคิดเห็น: