วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ระบบนิเวศป่าดิบชื้น

ระบบนิเวศป่าดิบชื้น

 


             ป่าดิบชื้นในประเทศไทยปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปจนสุดชายแดนของประเทศไทย ซึ่งต่อกับคาบสมุทรมลายู โดยเฉพาะบนที่ราบต่ำ และเนินเขา จนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร และยังพบเป็นหย่อมๆ ปะปนอยู่กับป่าดิบแล้งในภาคตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จันทบุรี ตราด ด้วย ป่าดิบชื้นทางภาคใต้ของไทย แบ่งออกเป็น 2
ประเภท คือ


- ป่าดิบชื้นแบบไทย (Thai-type Rainforest) ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี มากกว่า 2,000 - 2,500 ม.ม.
- ป่าดิบชื้นแบบมลายู (Malayan-type Rainforest) ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี มากกว่า 2,500 ม.ม.

        สิ่งมีชีวิตในป่าดิบชื้น
         พรรณไม้ในป่าดิบชื้นประกอบด้วยต้นไม้ชั้นบนซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ตระกูลยาง (Dipterocarpaceae) มักมีลำดับสูงตั้งแต่ 30 ถึง 50 เมตร และมีขนาดใหญ่มาก ถัดลงมาก็เป็นต้นไม้นาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งสามารถขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ได้ รวมทั้งต้นไม้ในตระกูลปาล์ม (Palmaceae) ชนิดต่างๆ พื้นป่ามักรกทึบและประกอบด้วยไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ระกำ หวาย ไม้ไผ่ต่างๆบนลำต้นไม้ใหญ่จะมีพันธุ์ไม้จำพวก epiphytes เช่น พวกเฟิร์น กล้วยไม้ และมอส ขึ้นอยู่ทั่วไป เถาวัลย์ในป่าชนิดนี้จะมีมากกว่าในป่าชนิดอื่นๆ พรรณไม้ในป่าดิบชื้นที่สำคัญ เช่น ยาง ตะเคียน กะบาก เคี่ยม จำปาป่า หลุมพอ มะหาด มะม่วงป่า มะยมป่า ตาเสือ ย่านดาโอ๊ะหรือใบไม้สีทอง ไม้พื้นล่าง เช่น ไผ่หก ระกำ กระวาน หวาย เถาวัลย์ชนิดต่างๆ


 
           ความสัมพันธ์ภายในระบบนิเวศป่าดิบชื้น
           สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศป่าดิบชื้นมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองทั้งในด้านการพึ่งพาอาศัย การแก่งแย่งกันเพื่อให้เกิดความสมดุลธรรมชาติในระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวแบ่งออกได้ดังนี้
- การล่าเหยื่อ (Predation) เช่น เสือล่ากวาง
- การอิงอาศัยหรือการเกื้อกูล (Commensalism) เช่น เถาวัลย์ เฟิร์น กล้วยไม้
- เกาะต้นไม้ใหญ่ ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation) เช่น แมลงกับดอกไม้
- ภาวะพึ่งพากัน (Mutualism) เช่น โปรโตซัว ในลำไส้ ปลวก รากับสาหร่ายที่อยู่ร่วมกันของไลเคน
- ภาวะปรสิต (Parasitism) เช่น กาฝากกับต้นไม้ ทากดูดเลือดหรือเห็บกับสัตว์ตัวใหญ่
- สภาวะการย่อยสลาย (Saprophytism) เช่น การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยซากของสิ่งมีชีวิต
- ทำให้ซากย่อยสลายสู่ระบบนิเวศในธรรมชาติได้ เช่น เห็ด รา แบคทีเรีย เป็นต้น
 
http://www.tropicalforest.or.th/p43.htm  วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น